วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

เช็งเม้ง

ศัพท์ภาษาจีน: 清明节 เทศกาลเช็งเม้ง 清明 [qīngmíng] เทศกาลเชงเม้ง
我国 [wǒguó] ประเทศของเรา
节气 [jiéqì] ฤดูกาล
之一 [zhīyī] หนึ่งใน
由于 [yóuyú] เนื่องจาก
比较 [bǐjiào] เปรียบเทียบ, ค่อนข้างจะ
客观 [kèguān] ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
反映 [fǎnyìng] สะท้อน
一年四季 [yīniánsìjì] ปีหนึ่ง
气温 [qìwēn] อุณหภูมิ
方面 [fāngmiàn] ด้าน
变化 [biànhuà] เปลี่ยน
所以 [suǒyǐ] ดังนั้น
古代 [gǔdài] สมัยโบราณ
劳动 [láodòng] ทำงาน(แบบใช้แรงงาน)
人民 [rénmín] ประชาชน
安排 [ānpái] จัดเตรียม
农事 [nóngshì] งานการเกษตร
活动 [huódòng] กิจกรรม
淮南 [HuáiNán] ชื่อสถานที่ – Area code: 0554, Postcode: 232000 (安徽省).
天文 [tiānwén] ดาราศาสตร์
十五 [shíwǔ] สิบห้า
说法 [shuōfa] วิธีการพูด
生长 [shēngzhǎng] เจริญเติบโต
此时 [cǐshí] ในเวลานี้
清洁 [qīngjié] สะอาด
明净 [míngjìng] สะอาดเป็นมันวาว
雨量 [yǔliàng] ปริมาณน้ำฝน
增多 [zēngduō] ปริมาณเพิ่มขึ้น
正是 [zhèngshì] ถูกต้อง
春耕 [chūngēng] การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกในฤดูใบไม้ผลิ
时节 [shíjié] ฤดูกาล
明前 [míngqián] ชื่อชาเขียวชนิดหนึ่ง
造林 [zàolín] ปลูกป่า
可见 [kějiàn] มองเห็นได้
这个 [zhègè] อันนี้
农业 [nóngyè] เกษตรกรรม
生产 [shēngchǎn] ผลิต
有着 [yǒuzháo] เพรียบพร้อมไปด้วย
密切 [mìqiè] ใกล้ชิด, สนิทสนม
关系 [guānxi] สัมพันธ์กับ, เกี่ยวข้อง
但是 [dànshì] แต่, แต่ว่า
作为 [zuòwéi] การกระทำ สามารถปฏิบัติได้ผล
节日 [jiérì] เทศกาล
纯粹 [chúncuì] บริสุทธิ์
有所 [yǒusuǒ] ที่มีขอบเขต, ค่อนข้าง
不同 [bùtóng] ไม่เหมือน
时令 [shílìng] ฤดูกาล
顺序 [shùnxù] ตามลำดับ
标志 [biāozhì] สัญลักษณ์
包含 [bāohán] ครอบคลุม
一定 [yīdìng] แน่นอน
风俗 [fēngsú] ประเพณี
某种 [mǒuzhǒng] บางสิ่งบางอย่าง
纪念 [jìniàn] ระลึกถึง
意义 [yìyì] ความหมาย
传统 [chuántǒng] ประเพณีที่สืบทอดกันมา
重要 [zhòngyào] สิ่งสำคัญ
祭祀 [jìsì] เซ่นไหว้
日子 [rìzi] วัน, วันเวลา
俗称 [súchēng] ชื่อเรียกทั่วไป
上坟 [shàngfén] ไปเซ่นไหว้ผู้ตายที่หน้าสุสาน
死者 [sǐzhě] ผู้ตาย
汉族 [hànzú] ชนชาติฮั่น
一些 [yīxiē] เล็กน้อย
少数民族 [shǎoshùmínzú] ชนส่วนน้อย
大多 [dàduō] ส่วนมาก ส่วนใหญ่
都是 [dōushì] ล้วนแต่
按照 [ànzhào] ตาม
习俗 [xísú] ความเคยชิน, ประเพณีนิยม
人们 [rénmén] ผู้คน
携带 [xiédài] ถือติดตัว, พาไปด้วย
酒食 [jiǔshí] อาหารและเครื่องดื่ม
果品 [guǒpǐn] ผลไม้
纸钱 [zhǐqián] กระดาษเงินกระดาษทอง ที่ชาวจีนใช้เผาเซ่นไหว้เจ้าหรือบรรพบุรุษ
物品 [wùpǐn] สิ่งของ
墓地 [mùdì] สุสาน
食物 [shíwù] อาหาร
亲人 [qīnrén] ญาติพี่น้อง
焚化 [fénhuà] เผา
坟墓 [fénmù] หลุมฝังศพ
然后 [ránhòu] หลังจากนั้น
叩头 [kòutóu] แสดงความเคารพโดยคุกเข่าลงเอาหน้าผากแตะพื้น
行礼 [xínglǐ] แสดงความเคารพ
最后 [zuìhòu] สุดท้าย, ท้ายสุด
回家 [huíjiā] กลับบ้าน (homeward)
唐代 [tángdài] ราชวงศ์ถัง (the Tang Dynasty)
诗人 [shīrén] กวี (poet)
纷纷 [fēnfēn] เซ็งแซ่ เกรียวกราว
路上 [lùshàng] บนท้องถนน, ระหว่างเดินทาง
行人 [xíngrén] คนเดินถนน
借问 [jièwèn] ขอรบกวนถาม
酒家 [jiǔjiā] เดิมหมายถึงร้านขายไวน์ หรือภัตตาคาร,ปัจจุบันใช้เป็นชื่อภัตตาคาร
何处 [héchǔ] จากที่ไหน
牧童 [mùtóng] เด็กเลี้ยงวัว, เด็กเลี้ยงแกะ
特殊 [tèshū] พิเศษ
气氛 [qìfēn] บรรยากาศ
踏青 [tàqīng] ไปเดินเล่นที่ชานเมืองในฤดูใบไม้ผลิ
阳历 [yánglì] ปฎิทินสุริยคติ (solar calendar)
每年 [měinián] ทุกปี
之间 [zhījiān] ระหว่าง
春光 [chūnguāng] ทัศนียภาพในฤดูใบไม้ผลิ
明媚 [míngmèi] ทัศนียภาพสวยวิจิตรตระการตา
春游 [chūnyóu] ท่องเที่ยวในฤดูใบไม้ผลิ
时候 [shíhòu] ช่วงเวลา, ระยะเวลา
古人 [gǔrén] ยุคโบราณ
开展 [kāizhǎn] พัฒนา
一系列 [yīxìliè] ต่อเนื่องกัน
体育 [tǐyù] พลศึกษา
直到 [zhídào] จนถึง
今天 [jīntiān] วันนี้
祖先 [zǔxiān] บรรพบุรุษ
悼念 [dàoniàn] อาลัย
盛行 [shèngxíng] แพร่หลายอย่างกว้างขวาง, เป็นที่นิยม




การเผาเงินกระดาษของจีน (烧纸钱)
ประเทศจีนสมัยโบราณ ในช่วงเทศกาลเชงเม้ง(清明节)จะมีการเผาเงินกระดาษให้กับวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อนำไปใช้ในปรโลก เงินกระดาษนี้เรียกว่า “หมิงปี้” (冥币)หรือ “หมิงเฉียน”(冥钱) โดยทั่วไปทำจากกระดาษขาวตัดเป็นรูปเหรียญกษาปณ์ทองแดง หรือแบงก์ พอถึงเวลาก็โยนเหรียญและเงินกระดาษเหล่านี้ไปยังบริเวณสุสาน หรือเผาไปให้คนตาย ชาวบ้านทั่วไปจะเรียกการกระทำเช่นนี้ว่า โยนกระดาษ หรือเผากระดาษ อ้างตามบทประพันธ์ของ เกาเฉิง(高承)ชื่อ “ซื่ออู้จี้หยวน”《事务纪原》 ม้วน 9 บันทึกไว้ว่า “ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา เวลาฝังศพคนตายก็จะมีการฝังเงินกระดาษไปพร้อมกันด้วย” ใน “บันทึกประวัติศาสตร์สื่อจี้ หมวดชีวประวัติขุนนางผู้โหดเหี้ยม” 《史记•酷吏列传》ก็มีบันทึกอ้างถึงกระดาษเงินว่า “คนในพรรคมีขโมยเงินที่ฝังไว้ของเซี่ยวเหวินหยวนไปแจก(孝文园 เป็นตำแหน่งขุนนางของซือหม่าเซี่ยงหรู(司马相如)ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เป็นตำแหน่งผู้ดูแลจัดการสุสานของฮ่องเต้)” ดังนั้นจึงทำให้ทราบว่าประเพณีเกี่ยวกับเงินกระดาษได้มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นแล้ว กระทั่งสมัยราชวงศ์เหนือใต้ (南北朝时期)ช่วงฮ่องเต้ตงฮุนโฮ่ว(东昏侯) แห่งยุคฉีใต้ (南齐) (หรือหย่งไท่ตี้永泰帝– เซียวเป่าเจวี้ยน萧宝卷, ปี ค.ศ 498) เนื่องด้วยเป็นยุคที่เกิดสงครามยืดเยื้อมานาน ก่อนหน้านี้จากที่มีการฝังคนเป็นๆ ม้าเป็นๆ อีกทั้งแก้วแหวนเงินทอง ทรัพย์สมบัติต่างๆ ไปพร้อมกับผู้ตาย เนื่องจากเชื่อว่าผู้ตายจะสามารถนำไปใช้ยังอีกโลกหนึ่งได้ ดั้งนั้นเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณกองคลัง จึงได้มีการริเริ่มตัดกระดาษเป็นเงิน มาใช้ฝังพร้อมศพแทนทรัพย์สมบัติและเงินทองต่างๆ จากเหตุการณ์นี้จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าได้มีเงินกระดาษใช้กันในสมัยนี้แล้ว
เมื่อถึงวันเชงเม้ง หรือวันครบรอบวันตาย ชาวบ้านมักเผาเงินกระดาษให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยมีความเชื่อว่ากระดาษเงินเป็นเงินที่ผู้ตายสามารถนำไปใช้ได้จริงในอีกโลกหนึ่ง ยิ่งเผากระดาษเงินมากๆ ผู้ตายก็ยิ่งมีเงินใช้มาก
สำหรับที่มาของประเพณีการเผาเงินกระดาษนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายกระแส ดังนี้
เล่ากันว่าในสมัยโบราณมีปัญญาชนระดับซิ่วไฉ(秀才)ท่านหนึ่ง นามว่า ซินเซี่ยวถัง(辛孝堂) ฐานะทางบ้านยากจนมาก เมื่อมารดาของเขาเสียชีวิตลงก็ไม่มีเงินซื้อโลงศพ จึงได้แต่วางศพมารดาไว้ในบ้าน เพื่อนสนิทของเขาคนหนึ่งจึงถามขึ้นว่า ทำไมไม่นำศพมารดาไปฝัง เขารู้สึกไม่ดีที่ต้องตอบว่าจริงๆ แล้วเขาไม่มีเงิน จึงได้แต่ตอบว่า “มารดาเป็นญาติเพียงคนเดียวที่มีอยู่ เราใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมานานหลายสิบปี ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่แล้ว แต่ผมทำใจไม่ได้ที่ท่านมาจากไป จึงอยากให้ท่านอยู่ที่บ้านสักระยะ จะได้อยู่เป็นเพื่อนท่านไปก่อนสัก 2-3 วัน เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู” เพื่อนเขารู้สึกว่ามีเหตุผลดี เขาเป็นลูกกตัญญูอย่างแท้จริง หลังจากที่เรื่องนี้แพร่สะพัดออกไป ก็มีการเลียนแบบกันเกิดขึ้น เมื่อมีญาติสนิทมิตรสหายเสียชีวิตก็จะนำศพไว้ในบ้าน ยิ่งไว้นานเท่าไหร่ ก็แสดงถึงใจกตัญญูมากยิ่งขึ้น
มีอยู่วันหนึ่ง มารดาของนายอำเภอท่านหนึ่งเสียชีวิตลง ประกอบกับอากาศที่ค่อนข้างร้อน คิดว่าจะนำศพไว้ที่บ้านก็คงไม่เหมาะสม แต่ครั้นจะไม่เก็บไว้สักระยะหนึ่ง ก็กลัวเป็นที่ครหาของบรรดาผู้ใต้บังคับบัญชา จึงคิดนำศพไปไว้ที่วัดให้พระภิกษุคอยดูแล แล้วตัวเองไปดูบ้างเป็นครั้งคราวก็ถือว่ามีใจกตัญญูเช่นกัน ดังนั้นจึงเคลื่อนย้ายศพไปยังวัดโซว่มาเมี่ยว(嗽嘛庙) แล้วกล่าวกับสัปเหร่อว่า “ท่านตอนมีชิวิตอยู่นับถือพระพุทธศาสนามาก นำมาไว้ยังวัดนี้จะทำให้นางได้บุญมากยิ่งขึ้น” เนื่องจากพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ติดภารกิจทั้งวัน จึงให้พระลูกวัดเป็นผู้ดูแลแทน แต่พระลูกวัดเนื่องจากต้องเฝ้าศพเพียงลำพังจึงเกิดความกลัวขึ้น หลังจากนั้นสองวัน ศพเริ่มส่งกลิ่นจนไม่อาจทนได้ จึงไปหาหญ้าจำนวนหนึ่งมาเผาให้กลิ่นเหม็นจางลง แต่เผาจนเศษหญ้าหมด ฟ้าก็ยังไม่สว่าง จึงได้หากระดาษเหลืองมาเผาต่อ เผาจนเช้า นายอำเภอเดินมาพร้อมกับพระอาจารย์ และได้ถามว่าทำไมต้องเผากระดาษ พระลูกวัดตกใจทำอะไรไม่ถูก พระอาจารย์จึงได้รีบตอบไปว่า “นี่ไม่ใช่เป็นการเผากระดาษ แต่เป็นการส่งเงินให้กับคุณท่านไปใช้ในปรโลก เพราะเงินที่ใช้ที่นั่นก็คือกระดาษในโลกของเรา” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คนจึงเชื่อกันว่าเงินกระดาษก็คือเงินที่ใช้กันในในปรโลก เพื่อเป็นการแสดงถึงการไว้อาลัยผู้ตาย คนเราจึงมักเผาเงินกระดาษส่งไปให้แก่วิญญาณผู้ล่วงลับ
อีกความเชื่อหนึ่งเล่ากันว่า มีปัญญาชนระดับซิ่วไฉอีกท่านหนึ่ง นามว่า “โยวเหวินอี” (尤文一) เขาใช้ความพยายามในการศึกษาหาความรู้อย่างหนักเป็นเวลาสิบกว่าปีเพื่อสอบเป็นบัณฑิตระดับจวี่เหริน(举人บัณฑิตระดับชนบท)แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เขาจึงล้มเลิกความตั้งใจหันมาทำการค้าแทน โดยเข้ามาเรียนรู้งานในสำนักของผู้คิดค้นกระดาษนาม “ไช่หลุน”(蔡伦) เนื่องด้วยเขาเป็นคนฉลาดเรียนรู้ไว จึงเป็นบุคคลที่ไช่หลุนให้ความสำคัญและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำกระดาษให้ทั้งหมด
ผ่านมาหลายปี หลังจากไช่หลุนเสียชีวิตลง ซิ่วไฉแซ่โยวผู้นี้ก็สืบทอดกิจการต่อ กระดาษที่เขาผลิตทั้งคุณภาพดี และมีปริมาณมาก แต่คนใช้กระดาษในขณะนั้นมีน้อยมาก ทำให้กระดาษที่ผลิตออกมาขายไม่ได้ ทำให้เขากลัดกลุ้มเป็นอย่างยิ่ง นานวันเข้าทำให้เขากินไม่ได้ นอนไม่หลับ และตรอมใจตายในที่สุด คนในบ้านรู้สึ่กเสียใจยิ่ง เพื่อนบ้านทราบข่าวต่างก็มาช่วยงานฌาปนกิจ ภรรยาของโยวซิ่วไฉจึงกล่าวกับทุกคนว่า “สภาพการเงินบ้านเราไม่ค่อยดี ไม่สามารถจัดงานให้ยิ่งใหญ่ได้ ขอใช้กระดาษเหล่านี้เผาส่งไปให้เขาแทนแล้วกัน”
ครั้นแล้ว จึงส่งคนหนึ่งไปนั่งเผากระดาษหน้าศพโยวซิ่วไฉโดยเฉพาะ สามวันหลังจากนั้น โยวซิ่วไฉกลับลุกขึ้นมานั่ง ปากก็ร้องว่า “เผากระดาษ เผากระดาษ” ทุกคนต่างแตกตื่นและตกใจกันใหญ่ โยวซิ่วไฉจึงกล่าวขึ้นว่า “ไม่ต้องตกใจ ฉันฟื้นขึ้นมาแล้วจริงๆ ยมบาลปล่อยฉันกลับมา” ทุกคนได้ฟังดังนั้นจึงรู้สึกประหลาดใจอย่างมาก ทุกคนคอยถามโยวซิ่วไฉถึงความเป็นมา เขาจึงตอบว่า “เป็นเพราะกระดาษที่พวกคุณเผาช่วยชีวิตฉันไว้แท้ๆ”
“กระดาษที่เผาเหล่านี้ เมื่อไปถึงยมโลกก็กลายเป็นเงิน ฉันมอบเงินเหล่านี้ให้แก่ยมบาล ท่านจึงปล่อยฉันกลับมา” ทุกคนเมื่อได้ฟังดังนั้นต่างก็ดีใจ และเผากระดาษกันเป็นการใหญ่ เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป ก็มีผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้ ได้แก่ คหบดีท้องถิ่นผู้ร่ำรวยท่านหนึ่ง เมื่อได้ยินข่าวจึงเรียกโยวซิวไฉมาพบ และกล่าวกับเขาว่า “บ้านฉันใช้เงินตราฝังไปกับศพผู้ตาย มันไม่มีค่ามากกว่าเงินกระดาษหรอกหรือ?” เขาจึงตอบว่า “ท่านไม่ทราบอะไร เงินทองเป็นสิ่งที่ใช้เฉพาะในโลกมนุษย์เท่านั้น ไม่สามารถนำไปยังปรโลกได้ หากไม่เชื่อ ลองไปขุดสุสานดู รับรองได้ว่าเงินทองที่ฝังอยู่เหล่านั้นก็ยังคงอยู่ที่เดิม ไม่มีย้ายที่เลยแม้แต่นิดเดียว”
คหบดีฟังดังนั้นจึงพยักหน้ายอมรับ จากนั้นมา คนซื้อกระดาษนับวันจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ กระดาษที่โยวซิ่วไฉผลิตแทบจะมีไม่พอขาย แต่อันที่จริงแล้ว เขาไม่ได้ตายแล้วฟื้นชีพแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงแผนการที่เขากับภรรยาได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้า จากนั้นประเพณีการเผากระดาษให้กับผู้ตายก็ได้รับความนิยมและสืบทอดต่อกันมาในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น