วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

ตัวเลข จำนวน วิธีการเลือกใช้ และอื่นๆ

ตัวเลขจีน มีที่มาจากตัวเลขอารบิคของอินเดีย
ตัวเลขอารบิคที่ทั่วโลกใช้กันมาจากไหน? ในประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์ ตัวเลขอารบิคถูกเรียกเป็น “ตัวเลขอินเดีย-อาหรับ”
ตัว เลขอารบิค 1 2 3 4 5 6 7 8 9 บรรพบุรุษของชาวอินเดียเป็นคนค้นคิด หลังจากนั้นถ่ายทอดไปถึงอาหรับต้นศตวรรษที่ 12 จากอาหรับถ่ายทอดเข้าไปถึงยุโรป ชาวยุโรปตั้งชื่อเป็น “ตัวเลขอารบิค”ตัวเลขที่ชาวอินเดียคิดค้นขึ้นมาได้ถูกถ่ายทอดเข้าสู่ประเทศ จีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 8 แต่ไม่ได้แพร่หลายจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 คณิตศาสตร์ยุคใกล้รุ่งเรืองขึ้นในประเทศจีน ตัวเลขอารบิคจึงถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีน
ตัวเลขอารบิคนับได้ ว่าเป็นระบบตัวเลขที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก จุดเด่นของมันคือเส้นขีดเรียบง่าย โครงสร้างเป็นวิทยาศาสตร์ รูปลักษณ์ชัดเจน กลุ่มตัวเลขย่นย่อเรียบง่าย จึงรับความนิยมทั่วโลกกลายเป็นระบบตัวเลขที่เป็นที่นิยมใช้ทางสากลระบบหนึ่ง
แน่ นอน “ตัวเลขอารบิค”ที่นำมาใช้กันอย่างกว้างขวางกันปัจจุบัน มิใช่มาจากประดิษฐ์คิดค้นแค่ครั้งเดียวก็เป็นรูปร่างแล้ว ตัวเลขอาราบิกกว่าจะเป็นรูปเป็นร่างเหมือนที่เป็นอยู่ปัจจุบันจะต้อง ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ถ้าย้อนกลังอีกนานจะพบว่าตัวเลขระบบตำแหน่งทวีสิบ ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นจากบรรพบุรุษชาวจีนโดยระบบนับจำนวน หลังจากนั้นชาวอินเดียโบราณได้นำไปเผยแพร่และดำเนินการปรับปรุงระหว่างนำไป ใช้จนเป็นรูปเป็นร่างอย่างถาวรและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง
ตัวเลขปรากฏในตัวอักษรภาษาจีนจากกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ก็ได้ใช้ตัวเลขระบบตำแหน่งทวีสิบ
ตัวเลขที่ชาวจีนใช้ มี 3 แบบ
  1. เลขอารบิกสมัยใหม่ เช่น 1, 2, 3, 4
  2. อักษรจีนที่ใช้สำหรับเขียนแทนจำนวนในภาษาจีน เรียก ตัวเขียนใหญ่ (จีนตัวเต็ม: 大寫; จีนตัวย่อ: 大写; คำอ่าน: dàxiě) นิยมใช้ในโรงเรียนมากกว่า และใช้ในงานการบัญชีเพื่อป้องกันการแก้ไขจำนวน (壹贰叁肆伍陆柒捌玖拾) เช่น
    1. 壹 [yī] เลขหนึ่ง 1
    2. 贰 [èr] เลขสอง 2
    3. 叁 [sān] เลขสาม 3
    4. 肆 [sì] เลขสี่ 4
    5. 伍 [wǔ] เลขห้า 5
    6. 陆 [liù] เลขหก 6 (คำนี้ถ้าอ่านว่า [lù] จะหมายถึง พื้นดิน)
    7. 柒 [qī] เลขเจ็ด 7
    8. 捌 [bā] เลขแปด 8
    9. 玖 [jiǔ] เลขเก้า 9
    10. 拾 [shí] เลขสิบ 10
    11. 零 [líng] เลขศูนย์  〇
  3. สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ตัวเขียนเล็ก  (จีนตัวเต็ม: 小寫; จีนตัวย่อ: 小写; คำอ่าน: xiǎoxiě) ดูจากปฏิทินไทยที่มีภาษาจีนกำกับก็จะเห็นตัวเลขจีนเหล่านี้ (一二三四五六七八九十) เช่น
    1. 一 [yī] เลขหนึ่ง 1
    2. 二 [èr] เลขสอง 2
    3. 三 [sān] เลขสาม 3
    4. 四 [sì] เลขสี่ 4
    5. 五 [wǔ] เลขห้า 5
    6. 六 [liù] เลขหก 6
    7. 七 [qī] เลขเจ็ด 7
    8. 八 [bā] เลขแปด 8
    9. 九 [jiǔ] เลขเก้า 9
    10. 十 [shí] เลขสิบ 10
    11. 0  [líng] เลขศูนย์
ชาวจีนนิยมเขียนตัวเลขตามข้อสาม แม้ชาวจีนจะใช้เทคโนโลยีทันสมัยก็ตาม เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต ตัวเลขที่ใช้ยังเป็นตัวเลขแบบจีนอยู่ สะท้อนให้เห็นว่า เขามีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ที่เรียกว่า อนุรักษ์นิยมก็ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (ตัวเลขจีน)

1. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 1

  • 一 [yī] ( คำเต็ม 壹) 1.เลขหนึ่ง, จำนวนหนึ่ง, เดี่ยว 2.เร็วๆ นี้ 3.ทั้งหมด/one/1/single/a (article)/as soon as/entire/whole/all/throughout/
  • 一日 [yīrì ] (ㄧㄖˋ) วันที่ 1 / 1 st
  • 一月 [yī yuè] (ㄧ ㄩㄝˋ) เดือนมกราคม / January
  • 星期一 [xīng qī yī] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ) วันจันทร์ / Monday
  • 一世 [yī shì] (ㄧ ㄕˋ) ลำดับที่หนึ่ง ในพระนามของพระมหากษัตริย์ เช่น พระเจ้า… ที่หนึ่ง)/the First (of named Kings)/
  • 一个人 [yī gè rén] (คำเต็ม 一個人) (ㄧ ㄍㄜˋ ㄖㄣˊ) หนึ่งคน /alone/
  • 一百 [yī bǎi] (ㄧ ㄅㄞˇ)  จำนวนหนึ่งร้อย, 100
一举两得 [yìjǔliǎngdé] (คำเต็ม 一舉兩得) (ㄧ ㄐㄩˇ ㄌㄧㄤˇ ㄉㄜˊ)
คำ แปล “ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว หรือ กระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว เช่น 我考试得了第一名,老师表扬了我,又证明了我的努力没有白费,真是一举两得。 ฉันสอบได้ที่หนึ่ง อาจารย์ชมเชยฉัน พิสูจน์ได้ว่าความขยันของฉันไม่เสียเปล่า, กระสุนนัดเดียวได้นกสองตัวจริงๆ ) “/to kill two birds with one stone/
ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ (部首 [bùshǒu] ㄅㄨˋ ㄕㄡˇ ปู้โส่ว คำแปล ส่วนประกอบของโครงสร้างที่ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรจีน)คำที่นำคำศัพท์อักษร 一 มาใช้ประกอบ เช่น
  • 二 [èr] (ㄦˋ) สอง/two/2/
  • 三 [sān] (ㄙㄢ) สาม/three/3/
  • 五 [wǔ] (ㄨˇ) ห้า/five/5/
  • 上 [shàng] (ㄕㄤˋ) บน ส่วนแรก/on/on top/upon/
  • 下 [xià] (ㄒㄧㄚˋ) ใต้, ล่าง/under/second (of two parts)
  • 不 [bù] (ㄅㄨˋ) ไม่/(negative prefix)/not/no/
  • 万 [wàn] (ㄨㄢˋ) หมื่น / อย่างยิ่ง, เด็ดขาด / มากมายหลากหลาย /Wan (surname)/ten thousand/a great number/
ความ หมายเลข 一 ความยิ่งใหญ่ , ที่หนึ่ง, เลขจำนวนน้อยที่สุด, เริ่มต้นก่อนเลขอื่นๆ, คูณ หาร อะไรได้เท่าเดิม, มิติเดียว = ความยาว, หนึ่งเดียว, มองภูเขาด้านเดียว จีนไม่นิยมใช้เพราะเสียงคำว่า 依 [yī] (ㄧ) แปลว่า พึ่ง , พึ่งพา, อาศัย /according to/depend on/near to/

2. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 2

  • 二 (贰) [èr] (ㄦˋ) สอง/two/2/
  • 二日 [èr rì] (ㄦˋ ㄖˋ) วันที่ 2 / 2 nd
  • 二月 [èr yuè] (ㄦˋ ㄩㄝˋ) เดือนกุมภาพันธ์ / February
  • 星期二 [xīng qī èr] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ ㄦˋ) วันอังคาร/Tuesday
  • 二十一世纪 (คำเต็ม 二十一世紀) [èr shí yī shì jì ] (ㄦˋ ㄕˊ ㄧ ㄕˋ ㄐㄧˋ) ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด /21st century/
  • 二手货 (คำเต็ม 二手貨) [èr shǒu huò] (ㄦˋ ㄕㄡˇ ㄏㄨㄛˋ) สินค้ามือสอง /secondhand/
  • 二百五 [èr bǎi wǔ] (ㄦˋ ㄅㄞˇ ㄨˇ) (ภาษาพูด) คนโง่ /an idiot/a stupid person/
  • 二林镇 (คำเต็ม二林鎮 ) [èr lín zhèn] (ㄦˋ ㄌㄧㄣˊ ㄓㄣˋ) เมืองเอ้อหลิน (ในไต้หวัน) /(N) Erhlin (town in Taiwan)/
*** 两 [liǎng] ความหมาย เช่น เหมือนคำว่า รองเท้า 1 คู่ จะไม่นิยมใช้คำว่ารองเท้า 2 ข้าง
两 (คำเต็ม 兩) [liǎng] (ㄌㄧㄤˇ) 1. สอง  2.ทั้งสองฝ่าย, ทั้งสองอย่าง, ทั้งคู่  3.แสดงถึงจำนวนที่ไม่แน่นอน/both/two/ounce/some/a few/tael/
  • 两侧 (คำเต็ม 兩側) [liǎng cè] (ㄌㄧㄤˇ ㄘㄜˋ) สองด้าน, ทั้งสองด้าน/two sides/both sides/
  • 两句 (คำเต็ม 兩句) [liǎng jù] (ㄌㄧㄤˇ ㄐㄩˋ) (ขอให้ฉันได้พูดสัก) สองสามคำ, สองสามประโยค /(Just let me say) a few words/
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 一
ความหมายเลข 二 –> ความเจริญ เป็นคู่, เท่าตัว, ทวิ, คูณเลขคี่ หรือ เลขคู่ ก็จะได้ผลลัพธ์เป็นเลขคู่, เป็นเลขมงคล, คิดทบทวน (think twice), และสองมิติ = พื้นที่

3. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 3

  • 三 (คำเต็ม 叁 หรือ 参 ) [sān] (ㄙㄢ) ซาน คำแปล สาม/three/3/
  • 三日 [sān rì] (ㄙㄢ ㄖˋ) วันที่ 3 / 3 rd
  • 三月 [sān yuè] (ㄙㄢ ㄩㄝˋ) เดือนมีนาคม / March
  • 星期三 [xīng qī sān] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ ㄙㄢ) วันพุธ /Wednesday/
  • 三代 [sān dài] (ㄙㄢ ㄉㄞˋ) สามยุค, สามรุ่น, สามชั่วคน, สามสมัย /third-generation/
三宝 ( คำเต็ม三寶) [sān bǎo] (ㄙㄢ ㄅㄠˇ) (ศาสนาพุทธ) แก้ว 3 ประการ หรือ พระรัตนตรัย หมายถึง สิ่งเคารพนับถือสูงสุดของพุทธศาสนิกชน คือ
  1. 佛法 [fó] พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระศาสดา ของพระพุทธศาสนา
  2. 法[fǎ] พระธรรม ได้แก่คำสอนของพระพุทธเจ้า
  3. 僧[sēng] พระสงฆ์ ได้แก่ พระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้สืบศาสนาต่อมา
สิ่ง ทั้ง 3 นี้ เรียกว่า รัตนะ เพราะมีคุณค่าแก่ชาวพุทธอย่างยิ่งเสมือนดวงแก้ว/the Three Precious Treasures of Buddhism – namely, the Buddha 佛[fó], the Dharma 法[fǎ] (his teaching), and the Sangha 僧[sēng] (his monastic order)/
三藏法师 ( คำเต็ม 三藏法師) [sān cáng fǎ shī] (ㄙㄢ ㄘㄤˊ ㄈㄚˇ ㄕ) พระถั๋งซัมจั๋ง ค.ศ. 602-664) พระสงฆ์ในสมัยราชวงศ์ถัง ผู้ซึ่งอุทิศตนเพื่อเดินทางไปยังชมพูทวีปเพื่อคัดลอกพระไตรปิฎกกลับมายัง ประเทศจีน (ค.ศ.629-645) จนเกิดเป็นนิทานเรื่อง บันทึกท่องประจิม (ไซอิ๋ว) (西游記, 西游记 [xī yóu jì]) เหมือนกับ 玄奘[xuán zhuǎng] /Tripitaka (602-664) Tang dynasty Buddhist monk and translator, who traveled to India 629-645/same as 玄奘/
三国演义 (คำเต็ม 三國演義 ) [sān guó yǎn yì] (ㄙㄢ ㄍㄨㄛˊ ㄧㄢˇ ㄧˋ) (นิยาย) สามก๊ก เป็นหนึ่งในสี่ยอดวรรณกรรมจีน (四大名著[sìdàmíngzhu]) (ㄙˋ ㄉㄚˋ ㄇㄧㄥˊ ㄓㄨˋ) คือ
  1. 紅樓夢, 红楼梦 [hóng lóu mèng] ความฝันในหอแดง (ความรักในหอแดง) ,Dream of the Red Chamber
  2. 三國演義, 三国演义 [sān guó yǎn yì] สามก๊ก ,Romance of the Three Kingdoms
  3. 水滸傳, 水浒传 [Shuǐhǔzhuàn] ซ้องกั๋ง,Water Margin
  4. 西游記, 西游记 [xī yóu jì] ไซอิ๋ว (บันทึกท่องประจิม) ,Journey to the West
部首 [bùshǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 一
ความหมายเลข 三 เช่น
  • “ฮก ลก ซิ่ง” ((ภาษาแต้จิ๋ว)) –> 福 [fú] ฮก(ความสุข), 禄 [lù] ลก(ความร่ำรวย), 寿 [shòu] ซิ่ว(อายุยืน)
  • คนจีน เรียกการคิดรอบคอบว่า 三次 [sāncì] หรือ “คิด 3 ครั้ง”
  • รักสามเส้า 三角恋爱 [sānjiǎoliàn'ài] (三角 [sānjiǎo] สามเหลี่ยม, 恋爱 [liàn'ài] ความรัก)
  • และสัตว์หลายชนิด เช่น ม้า จะแยกแยะได้เพียง 3 มากกว่านี้จะสับสน
  • ขณะที่เลข 3 พ้องเสียงคำว่า 散 [sàn] แตกแยก ชาวจีนจึงไม่ค่อยชอบ
  • แต่สำหรับคนฮ่องกงแล้ว เลข 3 ไปพ้องกับเสียงคำว่า 升 [shēng] เลื่อนขึ้น
  • เลข 3 ในภาษาจีนกลาง อ่านออกเสียงว่า 三 [sān] ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า 山 [shān] ที่แปลว่า ภูเขา
  • ชาวสิงค์โปร ชอบเลข 93 มากเพราะมันพ้องเสียงและมีการอ่านออกเสียงใกล้กับคำว่า 高山 [gāoshān] เกาซัว หรือ เกาซัน เป็นการประยุคใช้ สองสำเนียง ฮกเกี้ยงกับจีนกลาง เข้าด้วยกัน เลข 93 จึงมีความหมายอีกว่า ยอด จุดสุดยอด หรือยอดภูเขาสูง อยู่เหนือสุด (เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า)

4. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 4

  • 四 (คำเต็ม 肆) [sì] (ㄙˋ) สี่/four/4/
  • 四日 [sì rì] (ㄙˋ ㄖˋ) วันที่ 4 / 4th
  • 四月 [sì yuè] (ㄙˋ ㄩㄝˋ) เดือนเมษายน / April
  • 星期四 [xīng qī sì] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ ㄙˋ) วันพฤหัสบดี /Thursday/
四书 (คำเต็ม 四書) [sì shū] (ㄙˋ ㄕㄨ) จตุรบรรณ (ซื่อซู) เป็นคัมภีร์หลักของศาสนาปราชญ์ (ลัทธิขงจื้อ) มี 4 เล่ม คือ
  1. 大學, 大学 [dà xué] คัมภีร์มหาบุรุษ
  2. 中庸 [zhōng yōng] คัมภีร์ทางสายกลาง
  3. 論語, 论语 [lùn yǔ] ถามตอบ
  4. 孟子 [mèng zǐ] เมิ่งจื่อ
四大佛教名山 [sì dà fó jiào míng shān] (ㄙˋ ㄉㄚˋ ㄈㄛˊ ㄐㄧㄠˋ ㄇㄧㄥˊ ㄕㄢ) จตุรมหาพุทธาบรรพต ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามคติทางพุทธศาสนาของประเทศจีน มีอยู่ 4 ลูกด้วยกัน คือ
  1. 五臺山, 五台山 [wǔ tái shān] อู่ไถซัน อยู่ที่มณฑลซันซี (ซานซี) (山西 [shān xī])
  2. 峨眉山 หรือ 峨嵋山 [é méi shān] เอ๋อเหมยซัน-เขาง้อไบ้ อยู่ที่มณฑลเสฉวน (四川 [sì chuān])
  3. 九華山, 九华山 [jiǔ huá shān] จิ่วฮว๋าซัน อยู่ที่มณฑลอันฮุย (安徽 [ān huī])
  4. 普陀山 [pǔ tuó shān] ผู่ถัวซัน-Mt Potala อยู่ที่มณฑลเจ้อเจียง (浙江 [ zhè jiāng])
四谛 [sì dì] (ㄙˋ ㄉㄧˋ) (พุทธศาสนา) อริยสัจสี่ คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ประกอบด้วย
  1. 苦 [kǔ] ทุกข์
  2. 集 [jí] สมุทัย
  3. 灭 [miè] นิโรธ
  4. 道 [dào] มรรค
  • 八正道 [bāzhèngdào] มรรคแปด
  • 正道 [zhèngdào] ทางที่ถูกต้อง, ทางที่ควร
四大美女 [sì dà měi nǚ] (ㄙˋ ㄉㄚˋ ㄇㄟˇ ㄋㄩˇ) ยอดสี่สาวงามในสมัยจีนโบราณ คือ
  1. 西施 [xī shī] ไซซี
  2. 王昭君 [wáng zhāo jūn] หวังเจาจวิน
  3. 貂蟬 / 貂蝉 [diāo chán] เตียวเสี้ยน
  4. 楊貴妃 / 杨贵妃 [yáng guì fēi] หยางกุ้ยเฟย
四大发明 (คำเต็ม 四大發明) [sì dà fā míng] (ㄙˋ ㄉㄚˋ ㄈㄚ ㄇㄧㄥˊ) การประดิษฐ์ที่สำคัญของชาวจีนในอดีต มี 4 อย่างด้วยกันคือ
  1. 指南针[zhǐ nán zhēn] เข็มทิศ
  2. 造纸术[zào zhǐ shù] การผลิตกระดาษ
  3. 印刷术 [yìn shuā shù] การพิมพ์
  4. 烟火药[yān huǒ yào] ดินปืน
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 口 [kǒu] เช่น
  • 口 [kǒu] (ㄎㄡˇ) คำแปล ปาก /mouth/(a measure word)/
  • 回 [huí] (ㄏㄨㄟˊ) คำแปล หมุน หันกลับ/to circle/to go back/
  • 国 [guó] (ㄍㄨㄛˊ) คำแปล ประเทศ รัฐ /country/state/nation/
  • 固 [gù] (ㄍㄨˋ) คำแปล แข็งแรง แน่น ยืนยัน/hard/strong/solid/sure/
  • 因 [yīn] (ㄧㄣ) คำแปล เหตุ สาเหตุ /cause/reason/because/
ความ หมายเลข 四 [sì] คนจีนจะไม่ชอบเลข 4 เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่า “死 [sǐ] (ซี้) ตาย” ในภาษาจีน เลข 73 กับ เลข 84 ถือว่าเป็นเลขอัปมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเชื่อกันว่า “ขงจื้อ” เสียชีวิตเมื่ออายุ 73 ปี และ “เมิ่งจื้อ” เสียชีวิตเมื่ออายุ 84 ปี ก็ขนาดนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ยังไม่สามารถข้ามพ้นตัวเลขนี้ไปได้ คนธรรมดายิ่งไม่ต้องพูดถึง ดังนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่เมื่อมีอายุ 73 ปี หรือ 84 ปี ทั้งตนเองและลูกหลานก็จะหลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึง จีนไม่มีห้องเลขที่ 404 หรือลงท้ายด้วยเลข 4 ซึ่งมีความหมายคล้ายว่า ตายกับตาย

5. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 5

  • 五 (คำเต็ม 伍) [wǔ] (ㄨˇ) ห้า/five/5/
  • 五日 [wǔ rì] (ㄨˇ ㄖˋ) วันที่ 5 / 5 th
  • 五月 [wǔ yuè] (ㄨˇ ㄩㄝˋ) เดือนพฤษภาคม/May
  • 星期五 [xīng qī wǔ] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ ㄨˇ) วันศุกร์ /Friday/
  • 五原 [wǔ yuán] (ㄨˇ ㄩㄢˊ) ชื่อสถานที่ อำเภออวู่หยวน (ชื่อสถานที่ในมองโกเลียใน)
  • 五六十岁 [wǔ liù shí suì] (ㄨˇ ㄌㄧㄡˋ ㄕˊ ㄙㄨㄟˋ) (อายุ) ห้าสิบ-หกสิบปี
五台山 (คำเต็ม 五臺山) [wǔ tái shān] (ㄨ˙ ㄊㄞˊ ㄕㄢ) ภูเขาอู่ไถซัน (Mt Wutai) อยู่ที่มณฑลซันซี (ซานซี) (山西) เป็นหนึ่งในสี่ของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามคติทางพุทธศาสนาของประเทศจีน (จตุรมหาพุทธาบรรพต) เป็นสถานที่บำเพ็ญของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (Manjusri – เหวินซูผูซ่า) (文殊菩薩, 文殊菩萨) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนะพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆ มากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ์ี /Mt Wutai in Shanxi, one of the Four Sacred Mountains and Bodhimanda of Manjushri 文殊/
五大名山 [wǔ dà míng shān] (ㄨˇ ㄉㄚˋ ㄇㄧㄥˊ ㄕㄢ) เบญจบรรพต (บางทีแปลว่า ห้าขุนเขากระบี่) ขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเต๋า หรือ 5 ยอดเขาแห่งแผ่นดินจีนหรือที่เรียกกันว่า 五岳 ประกอบไปด้วย
  1. ซงซาน (嵩山) ภูกลางในมณฑลเหอหนาน (河南) ( วัดเส้าหลิน หรือวัดเสี้ยวลิ้มยี่ 少林寺 ตั้งอยู่)
  2. เหิงซาน (恒山) ภูเหนือในมณฑลซานซี (山西)
  3. เหิงซาน (衡山) ภูใต้ในมณฑลหูหนาน (湖南)
  4. ไท่ซาน (泰山) ภูตะวันออกในมณฑลซานตง (山东)
  5. และหัวซาน (华山) ภูตะวันตกในมณฑลส่านซี (陕西)
มีสำนวนจีนกล่าวเอาไว้ว่า 五岳归来不看山 “ไปชม 5 ภู กลับมาไม่มองภูเขา ” อันเป็นการบ่งบอกว่า ภูทั้ง 5 นั้นมีความสวยงามติดอยู่ในระดับหัวแถวของแผ่นดิน
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 一
ความหมายเลข 五 [wǔ] หมายถึง สมบูรณ์ เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีตัวอักษรใช้ คนจะใช้นิ้วนับจำนวน จึงนับได้ทีละ 5 นิ้ว รวม 2 มือ เป็น 10 นิ้ว (5+5) จึงเป็นที่มาของความสมบูรณ์หรือเต็มเปี่ยม
ชาวจีนยังนำเลข 5 ไปใช้ในเรื่องต่างๆ เช่น
เรียกคนที่มีความรู้ความสามารถว่า 学富五能 [xué fù wǔ néng]
และเรียกรสชาติอาหารการกินทั้งหมด 5 รส โดยใช้คำว่า 五味 [wǔ wèi] ได้แก่
  1. 甜 [tián] รสหวาน
  2. 酸 [suān] รสเปรี้ยว
  3. 苦 [kǔ] รสขม
  4. 辣 [là] รสเผ็ด
  5. 咸 [xián] รสเค็ม

6. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 6

  • 六( คำเต็ม 陆 ) [liù] (ㄌㄧㄡˋ) เลขหก/เลขที่หก /six/6/
  • 六日 [iù rì] (ㄌㄧㄖˋ) วันที่ 6 / 6 th
  • 六月 [liù yuè] (ㄌㄧ ㄩㄝˋ) เดือนมิถุนายน/June
  • 星期六 [xīng qī liù] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ ㄌㄧㄡˋ) วันเสาร์ /Saturday/
  • 六书 (คำเต็ม 六書) [liù shū] (ㄌㄧㄡˋ ㄕㄨ) ตัวอักษรจีน 6 ชนิด /Six types of Chinese characters/
  • 六十五岁(คำเต็ม 六十五歲) [liù shí wǔ suì] (ㄌㄧㄡˋ ㄕˊ ㄨˇ ㄙㄨㄟˋ) อายุหกสิบห้า /sixty-five years old/
  • 六四事件 [liù sì shì jiàn] (ㄌㄧㄡˋ ㄙˋ ㄕˋ ㄐㄧㄢˋ) เหตุการณ์เทียนอันเหมิน วันที่ 4 มิถุนายน 1989 /Tian’anmen incident of 4th Jun 1989/
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 八
ความหมายเลข 六 [liù] การเดินทาง ชาวจีนเชื่อว่าเลข 6 เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น เป็นที่น่าสังเกตว่า เบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือทะเบียนรถยนต์ที่มีหมายเลข 6, 8 และ 9 จะเป็นที่นิยมของคนจีน ชาวต้าหลี่ มณฑลยูนนานจึงนิยมส่งของขวัญที่มีเลข 6 ประกอบ เช่น สินสอดวันหมั้นมักจะเป็นจำนวน 60 หรือ 66 หรือ 106 ชนิด วันขึ้นบ้านใหม่ หรือวันเกิด หากมีการให้ของขวัญ เช่น มอบเงิน 160 หยวน เจ้าของบ้านจะยินดีมาก เล่ากันว่า ชาวป๋ายในมณฑลยูนนาน ถือว่าเลข 6 หมายถึง ความพอเพียงในภาษาถิ่นของยูนนาน จึงถือว่า ไม่ว่าจะมอบของขวัญให้มากเท่าใด ขอเพียงมีตัวเลข 6 ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ขณะที่ ชาวหยางโจว มักเลือกวันแต่งงานที่มีตัวเลข 6 ประกอบอยู่ เช่น 6 หรือ 16 หรือ 26 เพราะเชื่อว่าทุกอย่างจะราบรื่น เพื่อเป็นเคล็ดให้ชีวิตคู่อยู่ราบรื่นสมหวัง เพราะทุกสิ่งพอเพียงแล้วนั่นเอง
แต่เลข 6 นี้ คนไทยบางคนไม่ชอบ เพราะกลัวหกล้ม หกคะเมน
  • 星期日 [xīng qī rì] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ ㄖˋ) วันอาทิตย์ /Sunday/
  • 星期天 [xīng qī tiān] (ㄒㄧㄥ ㄑㄧ ㄊㄧㄢ) วันอาทิตย์ /Sunday/

7. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 7

  • 七 (คำเต็ม 柒) [qī] (ㄑㄧ) 1.เจ็ด, 2.สมัยเก่าหมายถึงการทำบุญครบ 7 วันให้แก่ผู้ถึงแก่กรรมตลอดจนถึง 49 วัน ซึ่งรวม 七 7 ครั้งด้วยกัน /seven/7/
  • 七日 [qī rì] (ㄑㄧㄖˋ) วันที่ 7 / 7 th
  • 七月 [qī yuè] (ㄑㄧㄩㄝˋ) เดือนกรกฏาคม/July
  • 七嘴八舌 [qī zuǐ bā shé] (ㄑㄧ ㄗㄨㄟˇ ㄅㄚ ㄕㄜˊ) 1.เปรียบเทียบถึงคนมากพูดมาก, วิจารณ์กันไปต่างๆนานา 2.เปรียบถึงพูดอ้อมไปอ้อมมา /(saying) a discussion with everybody talking at once/
  • 七十年代 [qī shí nián dài] (ㄑㄧ ㄕˊ ㄋㄧㄢˊ ㄉㄞˋ) ยุค70, ปีคริสศักราช 1970-1979 /the 1970′s/
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 一
ความหมายเลข 七 [qī] มีเสน่ห์ เป็นเลขคี่ที่หารลงตัวยาก, 1 สัปดาห์ มี 7 วัน, สายลับชื่อดัง หมายเลข 007, ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ทาง จันทรคติของจีนจะมีดาว 2 ดวง อยู่ 2 ข้างทางช้างเผือกโคจรเข้าพบกัน, คนที่มีอายุ 70 ขึ้นไปมีน้อย, สิ่งมหัศจรรย์ของโลกทั้ง 7, คนแคระทั้ง 7, อุปนิสัยทั้ง 7

8. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 8

八 ( คำเต็ม 捌) [bā] (ㄅㄚ) แปด /eight/8/
八日 [bā rì] (ㄅㄚ ㄖˋ) วันที่ 8 / 8 th
八月 [bā yuè] (ㄅㄚ ㄩㄝˋ) เดือนสิงหาคม/August
八仙 [bā xiān] (ㄅㄚ ㄒㄧㄢ) แปดเซียน /the Eight Immortals/
แปดเซียน เทพ 8 องค์ ผู้อำนวยโชคลาภและความร่ำรวย แปดเซียน หรือ โป๊ยเซียน มีนามว่า
  1. 铁拐李 [tiě guǎi lǐ] เซียนแห่งยา และการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
  2. 汉钟离 [hàn zhōng lí] เซียนแห่งโชคลาภ การบริการ การปกครอง
  3. 吕洞宾 [lǚ dòng bīn] เซียนแห่งการรักษาโรค
  4. 张果老 [zhāng guǒ lǎo] เซียนแห่งความมั่นคง อายุยืน สุขภาพดี
  5. 蓝采和 [lán cǎi hé] เซียนแห่งมวลบุปผาชาติ ความอุดมสมบูรณ์
  6. 何仙姑 [hé xiān gū] เซียนแห่งความดีงาม ความซื่อสัตย์
  7. 韩湘子 [hán xiāng zǐ] เซียนพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และการดนตรี
  8. 曹国舅 [cáo guó jiù] เซียนแห่งยศฐาบรรดาศักดิ์
八成 [bā chéng] (ㄅㄚ ㄔㄥˊ) ค่อนข้างใหญ่, ส่วนใหญ่ /eighty percent/most probably/most likely/
八角 [bā jiǎo] (ㄅㄚ ㄐㄧㄠˇ) ชื่อสมุนไพรชนิดหนึ่ง สามารถรักษาโรคกระเพาะ และขจัดเสมหะ /anise/star anise/aniseed/octagonal/
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 八 [bā] เช่น
  • 六 [liù] (ㄌㄧㄡˋ) คำแปล หมายเลขหก/เลขที่หก/six/6/
  • 公 [gōng] (ㄍㄨㄥ) คำแปล ส่วนรวม/just/honorable /public/common/
  • 共 [gòng] (ㄍㄨㄥˋ)คำแปล เหมือนกัน ร่วมกัน/all together/in while/
  • 弟 [dì] (ㄉㄧˋ) คำแปล น้องชาย /younger brother/
  • 兵 [bīng] (ㄅㄧㄥ)คำแปล อาวุธ,ทหาร /soldiers/a force/
  • 兴 [xìng] (ㄒㄧㄥ)คำแปล สนใจ/flourish/it is the fashion to/
  • 真 [zhēn] (ㄓㄣ ) คำแปล แท้,จริง /real/true/genuine/
ความหมายเลข 八 [bā] ร่ำรวย ชาวจีนที่ทำการค้าจะชื่นชอบเลข 8 เป็นที่สุด เป็นเลขเฮงของคนจีนมาตั้งแต่โบราณกาล จนกระทั่งถึงศตวรรษปัจจุบัน เพราะเลข 8 ในภาษากวางตุ้งไปพ้องกับคำที่มีความหมายว่า ร่ำรวย มั่งมี ตั้งแต่เปิดประเทศมา ชาวจีนกวางตุ้งรุ่นแรกๆ ที่เริ่มมาทำการค้าจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ชาวจีนทั่วทั้งโลกไม่ว่าจะอยู่บนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง หรืออเมริกา ก็ยังต้องมีเลข 8 ไว้ก่อน คนจีนในมณฑลอื่นๆ จึงถือเป็นแบบอย่างในการทำธุรกิจ และถือเลข 8 เป็นเลขมงคลตามอย่างคนกวางตุ้ง รวมทั้งยังหมายถึง 8 เซียน หรือโป๊ยเซียน ที่คอยดูแลปกป้องรักษา ซึ่งในฮ่องกง ทะเบียนรถยนต์เลข 8888 คนจะแย่งประมูลกัน และมีราคาแพงกว่าราคารถเสียอีก ทะเบียนรถที่ลงท้ายด้วย 8 จะมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เลขที่บ้าน ทะเบียนรถ วันเปิดกิจการ เลขที่บัญชี หรือแม้แต่เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้สื่อสาร ก็ต้องขอให้มีเลข 8 ร้านค้าถ้าอยากขายดี ต้องตั้งราคาสินค้าลงท้ายด้วย 8 ในฮ่องกง เลข 8 (发,發,髮) [fā]) ตามสำเนียงจีนกวางตุ้งที่มีความหมายว่า พัฒนา รุ่งเรืองขึ้น จึงเป็นที่รู้จักและนิยมทั่วไป วันพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกที่ ปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 8 เดือน 8 ปี 2008

9. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 9

  • 九 (คำเต็ม 玖) [jiǔ] (ㄐㄧㄡˇ ) เก้า /nine/9/
  • 九日 [jiǔ rì] (ㄐㄧㄡˇㄖˋ) วันที่ 9 / 9 th
  • 九月 [jiǔ yuè] (ㄐㄧㄡˇ ㄩㄝˋ) เดือนกันยายน/September
九华山 (คำเต็ม 九華山) [jiǔ huá shān] (ㄐㄧㄡˇ ㄏㄨㄚˊ ㄕㄢ) ภูเขา จิ่วฮว๋าซัน (Mt Jiuhua) อยู่ที่มณฑลอันฮุย (安徽 [ān huī]) เป็นหนึ่งในสี่ของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามคติทางพุทธศาสนาของประเทศจีน (จตุรมหาพุทธาบรรพต) เป็นสถานที่บำเพ็ญของพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ (Kṣitigarbha – ตี้จั้งหวังผูซ่า) (地藏王菩薩, 地藏王菩萨 [dì cáng wáng pú sà] ) เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงได้รับการเคารพนับถือ และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระโพธิสัตว์อื่นๆ ทรงปรากฏชื่อในพระสูตรชื่อ “ตี่จั่งอ๊วงพู่สักบึ้งง่วนเก็ง” (地藏菩薩本願經, 地藏菩萨本愿经 [dì cáng pú sà běn yuàn jīng]) โดยแปลจากภาษาสันสกฤต พระสูตรนี้กล่าวถึงพระมหาปณิธานของพระองค์ท่าน โดยมีปณิธานดังนี้ คือ “ตราบใดที่นรกยังไม่สูญ คือ ไม่ว่างจากสัตว์นรก ตราบนั้นก็จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ” /Mt Jiuhua in Anhui, one of the Four Sacred Mountains and Bodhimanda of Kṣitigarbha 地藏 [dì cáng]/
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 丿 pie3 เส้นตวัดทางซ้ายมือ เช่น
  • 川 [chuān] (ㄔㄨㄢ) 1.แม่น้ำ 2.พื้นดินที่ราบเรียบ 3.มณฑลเสฉวน /river/creek/plain/an area of level country/
  • 年 [nián] (ㄋㄧㄢˊ) ปี /year/
  • 并 [bìng] (ㄅㄧㄥˋ) และ, แล้วก็, รวมอยู่ด้วยกัน/and/also/together with/
ความหมายเลข 九 [jiǔ] มั่นคง เป็นเลขที่มีค่ามากที่สุด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ ความเป็นที่สุด นอกจากนี้ เสียงอ่านของเลข 9 ยังพ้องเสียงกับคำว่า “นาน ยาวนาน” ที่แสดงถึงการมีอายุยืน จึงทำให้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เลข 9 เป็นเลขที่ครองใจชาวจีนตลอดมา ไม่ต่างกับคนไทย เลข 9 九 [jiǔ] ตามสำเนียงคนกวางตุ้งไปพ้องกับคำว่า gou โก้ว พอเพียง และพ้องกับสำเนียงจีนกลางของคำว่า jiǔ (จิ่ว) ยั่งยืน

10. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 10

  • 十 (คำเต็ม 拾) [shí] (ㄕˊ) สิบ /ten/10/
  • 十日 [shí rì] (ㄕˊㄖˋ) วันที่ 10 / 10 th
  • 十月 [shí yuè] (ㄕˊ ㄩㄝˋ) เดือนตุลาคม/October
  • 十倍 [shí bèi] (ㄕˊ ㄅㄟˋ) เป็น 10 เท่า /tenfold/ten times (sth)/
  • 十分 [shí fēn] (ㄕˊ ㄈㄣ) อย่างยิ่ง /fully/completely/very/
  • 十足 [shí zú] (ㄕˊ ㄗㄨˊ) 1.เต็ม,ร้อยเปอร์เซ็นต์ 2.อย่างยิ่ง,เต็มตัว,เต็มที่ /(adj) completely/(adj) 100 percent/(adj) to be full of/
部首 [bù shǒu] ตำแหน่ง-อักษรหลัก/หมวดนำ คือ 十
ความหมายเลข 十 มือมี 10 นิ้ว จึงเป็นที่มาของความสมบูรณ์หรือเต็มเปี่ยม, ค่าของตัวเลขในหลักสิบ

11. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ เลข 0

〇 (คำเต็ม 零) [líng] (ㄌㄧㄥˊ) เลขศูนย์ /zero/
ความหมายเลข 〇 ตัวช่วย คิดริเริ่มสร้างสรรค์ , ไม่มีค่า คือ บวกอะไรได้เท่าเดิม, คูณอะไรได้เท่ากับ 0, หารอะไรได้ = ?, เติมท้ายเลขทบเป็นสิบ และสัญลักษณ์วงกลม “0” แทนความว่างเปล่า หรือศูนย์
หมายเหตุ : การตีความหมายตัวเลข เป็นสิ่งสมมติที่คนตั้งขึ้นมา ช่วยเป็นแรงใจ แรงศรัทธา เสริมให้การทำสิ่งต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จ บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมประเทศจีน นำตัวเลขมาเป็น ความเชื่อ ความศรัทธา เพราะ ประเทศจีนมีประชากรมาก การบริหารคน การปกครองคน ย่อมมีความซับซ้อนตามไปด้วย จึงใช้ความเชื่อ ความศรัทธา เป็นศูนย์รวมเพื่อจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีเป้าหมายเดียวกันให้ประสบความ สำเร็จ โดยผู้คนจำนวนมากยินดีทำร่วมกัน เช่น กำหนดวันพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก ที่ ปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 8 เดือน 8 ปี 2008 คนจีน ประชาชน ร่วมกัน ผลงานออกมาเป็นที่ประจักษ์ของการจัดงานแสดงยิ่งใหญ่จริง ๆ ดังคำว่า 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา (คือ ภาครัฐบาล+ภาคเอกชน+ประชาชน 3 ส่วนนี้ร่วมมือกัน อะไร ๆ ก็ทำให้ประสบความสำเร็จได้, ต่างชาติเกรงขาม)
ส่วนทางพุทธศาสนา กล่าวใน“สุปุพพัณหสูตร”
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ ดังนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น…
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี และบูชาดี…”
อธิบาย : ฤกษ์ดี คือ วัน เวลา สะดวกจะทำกิจกรรมต่าง ๆ นั่นเอง

การประกอบตัวเลขต่าง ๆ

การประกอบตัวเลขหลัก ต่าง ๆ ในภาษาจีนนั้นไม่ยาก เราใช้หลัก “个” (gè, หน่วย)、”十” (shí, สิบ)、”百” (bǎi, ร้อย)、”千” (qiān, พัน) เป็นหลักพื้นฐาน
วิธีจำ เราเคยดูหนังจีน เห็นหลวงจีน นับนิ้วมือ ให้นึกเป็นภาพหงายฝ่ามือขวามี 5 นิ้ว (5 แถวแนวตั้ง) 1 นิ้วมือ แบ่งเป็น 3 ช่อง
  • 万[wàn] 千[qiān] 百[bǎi] 十[shí] 个[gè]
  • 亿[yì] 千万[qiān wàn] 百万[bǎi wàn] 十万[shí wàn] 万[wàn]
  • 兆[zhào] 千亿[qiān yì] 百亿[bǎi yì] 十亿[shí yì] 亿[yì]
อธิบายความหมาย
  • 个 (คำเต็ม 個) [gè] หลักหน่วย
  • 十 (คำเต็ม拾) [shí] หลักสิบ
  • 百 (คำเต็ม佰) [bǎi] หลักร้อย
  • 千 (คำเต็ม拾) [qiān] หลักพัน
  • 万 (คำเต็ม万) [wàn] หลักหมื่น
  • 一百 (คำเต็ม 壹佰) [yī bǎi] หนึ่งร้อย 100
  • 一千 (คำเต็ม 壹仟) [yī qiān] หนึ่งพัน 1,000
  • 一万 (คำเต็ม 壹万) [yī wàn] หนึ่งหมื่น 10,000
  • 十万 (คำเต็ม 拾万) [shí wàn] หนึ่งแสน 100,000 (สิบหมื่น)
  • 百万 (คำเต็ม 佰万) [bǎi wàn] หนึ่งล้าน 1,000,000 (ร้อยหมื่น)
  • 千万 (คำเต็ม 仟万) [qiān wàn] สิบล้าน 10,000,000 (พันหมื่น)
  • 亿 (คำเต็ม 亿) [yì] ร้อยล้าน 100,000,000
  • 十亿 (คำเต็ม 拾亿) [shí yì] พันล้าน 1,000,000,000
  • 百亿 (คำเต็ม 佰亿) [bǎi yì] หมื่นล้าน 10,000,000,000
  • 千亿 (คำเต็ม 仟亿) [qiān yì] แสนล้าน 100,000,000,000
  • 兆 (คำเต็ม 兆) [zhào] ล้านล้าน 1,000,000,000,000
การประกอบตัวเลขหลักต่างๆ
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
〇 一 二 三 四 五 六 七 八 九 十
[lingˊ] [yī] [èr] [sān] [sì] [wǔ] [liù] [qī] [bā] [jiǔ] [shí]
ก. หลักการประกอบตัวเลข:
การนับจำนวนในภาษาจีนกลางนั้น ไม่ยากเลย ก็เหมือนกับภาษาไทย คือ นำเอาตัวเลขมาเรียงต่อกันตามหลักแล้วก็อ่านออกเสียงตามนั้นเลย เช่น
การนับ 1-10 หนึ่งถึงสิบ ก็ไม่มีอะไร ก็นับ อี เออร์ ซัน ซื่อ…. ไปจนถึง สือ
การนับ หลักสิบ ขึ้นไป ให้นำตัวเลขที่จะพูดวางไว้ด้านหน้าหลักต่างๆ ที่ต้องการเหมือนในภาษาไทย
__千 (พัน) __百 (ร้อย) __十 (สิบ) __个 (หน่วย) (โดยเราจะไม่อ่านหลัก “个” แต่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
  • 2 二 [èr]
  • 12 十二 [shí èr]
  • 30 三十 [sān shí]
  • 56 五十六 [wǔ shí liù]
  • 700 七百 [qī bǎi]
  • 478 四百七十八 [sì bǎi qī shí bā]
  • 8,631 八千六百三十一 [bā qiān liù bǎi sān shí yī]
ข. กฎการอ่านตัวเลขทั่วไป
ข.1. จำนวนตั้งแต่ 10-19 จะละค่าของตัวเลขในหลักสิบไว้ ไม่ต้องอ่าน”一”[yī] แต่ถ้าเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งร้อยขึ้นไป จะต้องอ่านค่าตัวเลข “一” [yī] ของหลักสิบเสมอ เช่น
  • 16 十六 [shí liù]
  • 318 三百一十八 [sān bǎi yī shí bā]
ข.2. ในภาษาพูด หากต้องการอ่านจำนวนตั้งแต่หนึ่งร้อยขึ้นไปที่มีเลขในหลักหน่วยเป็นศูนย์ เราสามารถละ “十”[shí] ข้างท้ายจำนวนได้ เช่น
  • 240 二百四 [èr bǎi sì]
ข.3. หากต้องการอ่านตัวเลขตั้งแต่หนึ่งร้อยขึ้นไป โดยตัวเลขนั้นมีหลักสิบเป็น “0″ แต่หลักหน่วยไม่ใช่ “0″ เวลาอ่านจะต้องอ่านเลข “0″ ของหลักสิบด้วย โดยอ่านว่า “零” [líng]
  • 500 五百 [wǔ bǎi]
  • 907 九百零七 [jiǔ bǎi línɡ qī]
ค. การอ่านตัวเลขในภาษาจีนจะแบ่งคั่นทีละ 4 หลัก ( เช่น 35942 จะแบ่งคั่นเป็น 3,5942 ไม่ใช่ 35,942 และการเขียนตัวเลขจะไม่ใช้เครื่องหมายจุลภาคมาคั่น) หลักที่สูงจาก “千” [qiān, พัน] คือ “万” [wàn, หมื่น] และหลักที่สูงจาก “万” [wàn, หมื่น] ขึ้นไปคือ “亿” [yì, หมื่นหมื่น = ร้อยล้าน] เช่น
  • 20,000 二万 [èr wàn]
  • 75,983 七万五千九百八十三 [qī wàn wǔ qiān jiǔ bǎi bā shí sān]
  • 100,000,000 一亿 [yí yì]
  • 435,986,000 四亿三千五百九十八万六千 [sì yì sān qiān wǔ bǎi jiǔ shí bā wàn liù qiān]
ข้อระวัง แต่จะมีพิเศษอยู่นิดหนึ่ง ตรงหลักร้อยขึ้นไป เลข 2 หากเป็นเลขประจำหลักร้อยขึ้นไป จะไม่อ่านว่า [èr] แต่จะอ่านว่า 两 [liǎng] เราต้องเข้าใจว่าสองร้อยในภาษาจีนหมายถึง ร้อยสองอัน ตัวอย่างเช่น
  • 200 两百 [liǎng bǎi]
  • 2,000 两千 [liǎng qiān]
  • 2,200 两千两百 [liǎng qiān liǎng bǎi]
  • 2,220 两千两百二十 [liǎng qiān liǎng bǎi èr shí]
สังเกตว่า หลัก ยี่สิบ ก็ยังเป็น [èr] [shí] อยู่จะเปลี่ยนไปเป็น [liǎng] ก็ต่อเมื่อถึงหลักพันขึ้นไปเท่านั้น
ซึ่ง คำว่า 两 [liǎng] นี้จะแปลว่าจำนวนที่เป็น 2 คือจะใช้เมื่อเราพูดถึงจำนวนของสิ่งของ เช่นของสองอัน ก็จะพูดว่า 两个 [liǎng gè] เป็นต้น
ตัวอย่าง การนำตัวเลขไปใช้
  • หมายเลข 1 一号 (คำเต็ม一號) [yī hào]
  • มากกว่า 150 ปี 一百五十多年 [ yī bǎi wǔ shí duō nián]
  • ปี ค.ศ.1949 一九四九年 [yī jiǔ sì jiǔ nián]
  • 1 ปี 一年 [yī nián]
  • 1 ปีครึ่ง 一年半 [yī nián bàn]
  • 1 ปีกว่า 一年多 [yī nián duō]
  • 1 สัปดาห์ 一周 [yī zhōu]
  • ครึ่งวัน 一半天 [yī bàn tiān]
  • 1 ชั่วโมง 一小时 [yī xiǎo shí]
  • 1 ครั้ง 一次 [yī cì]
  • 1 โหล 一打 [yī dǎ]
  • 1 ช้อน 一匙 [yī chí]
  • 1ชุด 一套 [yī tào]
  • 1 คน 一个人 (คำเต็ม 一個人) [yī gè rén]
  • 1 แถว 一排 [yī pái]
  • 1,000 ตัน 一千吨 [yī qiān dùn]
  • ศตวรรษที่ 21 二十一世纪 [èr shí yī shì jì]
  • สินค้ามือสอง 二手货(คำเต็ม二手貨) [èr shǒu huò]
  • 3 เท่า 三倍 [sān bèi]
  • เศษสองส่วนสาม (2/3) 三分之二 [sān fēn zhī èr]
  • สามเหลี่ยม 三角 [sān jiǎo]
  • รูปสามเหลี่ยม 三角形 [sān jiǎo xíng]
  • สามมิติ/3 D 三维 [sān wéi]
  • คนขับรถสามล้อ 三轮车夫 (คำเต็ม三輪車伕) [sān lún chē fū]
  • สามสิบปีที่แล้ว (ที่ผ่านมา) 三十年来 (คำเต็ม三十年來) [sān shí nián lái]
  • อายุ 36 ปี 三十六岁(คำเต็ม 三十六歲) [sān shí liù suì]
  • 4 ด้าน 四边 (คำเต็ม四邊) [sì biān]
  • โครงการ 5 ปี 五年计划 (คำเต็ม五年計划) [wǔ nián jì]
  • 6 โมงครึ่ง 六点半 (คำเต็ม六點半) [liù diǎn bàn]
  • 6.5  六点五 (คำเต็ม 六點五) [liù diǎn wǔ]
  • ยุค70, ปีคริสศักราช 1970-1979 七十年代 [qī shí nián dài]
  • หนังสือขนาด 16 หน้ายก 八开(คำเต็ม八開) [bā kāi]
  • ประมาณ 10 เดือน 十几个月(คำเต็ม十几個月) [shí jǐ gè yuè]
  • 12 ราศี (รอบนักษัตร) 十二地支 [shí èr dì zhī]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น